หัวเว่ย ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการบริหารคนใหม่
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ประกาศแต่งตั้ง นายเดวิด หลี่ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย นำทัพเสริมความแข็งแกร่ง และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมเผยกลยุทธ์ธุรกิจสำหรับตลาดประเทศไทยในปี พ.ศ. 2566 ในงาน “HUAWEI Meet the Press 2023 – Episode 1” เน้นผลักดันด้าน 5G อุตสาหกรรมดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และบุคลากรไอซีที โดยในปีนี้ หัวเว่ยจะมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและนักพัฒนาที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่ยนประเทศไทย โดยเฉพาะนักพัฒนาที่เชี่ยวชาญด้าน “คลาวด์” และ “พลังงานดิจิทัล” ทั้งยังเปิดเผยถึงความสำเร็จของหัวเว่ย ประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการร่วมผลักดันโครงสร้างพื้นฐาน 5G คลาวด์ พลังงานดิจิทัล และอีโคซิสเต็มด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะอื่น ๆ ในประเทศไทย เสริมความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และยกระดับศักยภาพบุคลากรไอซีที พร้อมมุ่งผลักดันพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย (Grow in Thailand, Contribute to Thailand)” อย่างต่อเนื่อง
นายเดวิด หลี่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าวถึงวิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย สำหรับปี พ.ศ. 2566 ว่า “หัวเว่ยจะร่วมผลักดันประเทศไทยให้ขึ้นสู่การขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียนและผลักดันภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยและสามารถช่วยผลักดันการพัฒนาในภาคสังคมได้ ทั้งนี้ หัวเว่ยจะใช้เครือข่ายไฟเบอร์เพื่อเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน และจะขยายความครอบคลุมของโครงข่ายเข้าไปในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งในปีนี้เราจะมุ่งขยายความครอบคลุมของโครงข่ายแบบไฟเบอร์ในชนบทของประเทศไทยและทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการ 5G ที่มีคุณภาพและมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ หัวเว่ยจะสนับสนุนด้านการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยี 5G ให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในไทย และลูกค้าของเรา รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลให้แก่โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่อีโคซิสเต็มด้านไซเบอร์ของประเทศ ในด้านการปกป้องข้อมูล หัวเว่ยจะช่วยสนับสนุนธุรกิจและสตาร์ทอัพต่าง ๆ ในไทยให้มาปรับใช้คลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับโลก (GCI) ให้แก่ประเทศ”
เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงเป้าหมายของหัวเว่ยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่เพียงความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญถึงคุณค่าทางสังคมและการบ่มเพาะบุคลากรในประเทศ โดยในปีนี้ หัวเว่ย ประเทศไทยจะมุ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างบุคลากรไอซีทีในไทย โดยเฉพาะการมุ่งฝึกอบรมนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้ได้ถึง 20,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม บ่มเพาะทักษะทางเทคโนโลยีที่มีความสำคัญให้แก่นักพัฒนาไทย และช่วยพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในไทย ผ่านการส่งมอบใบรับรองและต่อยอดโครงการด้านการฝึกอบรมต่าง ๆ ของหัวเว่ย เช่น โครงการบ่มเพาะธุรกิจเอสเอ็มอี Spark Ignite โครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมซึ่งจะต่อยอดให้ครอบคลุมในพื้นที่ 10 จังหวัด ฝึกอบรมนักเรียนให้ถึง 2,000 คน งานสัมมนา Talent Talk เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัลจากภาคส่วนต่างๆ และโครงการ Seeds for the Future ที่จะมีทั้งการฝึกอบรม มอบทุนการศึกษา และการแข่งขันในกลุ่มเยาวชน เพื่อให้แรงงานไทยมีทักษะด้านดิจิทัล มีคุณภาพ และมีความพร้อมสำหรับตลาดดิจิทัลของไทยในอนาคต
“นอกจากนี้ หัวเว่ย ประเทศไทย ยังจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงานดิจิทัล และวางแผนจะขยายการเติบโตของกลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัลให้เป็นผู้นำตลาดประเทศไทย เพื่อช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย (GDP) ให้เพิ่มขึ้น เราเชื่อมั่นว่าเราสามารถช่วยสนับสนุนประเทศไทยได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นนำ โซลูชัน และหลักปฏิบัติด้านพลังงานดิจิทัลของเรา ด้วยทีมบุคลากรและพาร์ทเนอร์ในประเทศระดับคุณภาพของเรา เราหวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีและหลักปฏิบัติในระดับโลกมาช่วยผลักดันให้ประเทศไทยในการมุ่งสู่ผู้นำในอาเซียนด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน” เขากล่าว
นายเดวิดกล่าวยังได้ปิดท้ายถึงความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ย ประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า หัวเว่ยได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมาโดยตลอด ครอบคลุมทั้งด้านการผลักดันโครงข่ายและการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การติดตั้งศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่งและการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์กว่า 300 ราย การนำโซลูชันเข้าประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมของไทยกว่า 10 ประเภท การผลักดันพลังงานดิจิทัลเพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย การร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการมีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีไทยกว่า 60,000 ราย
นายเดวิด หลี่ เข้าร่วมงานกับหัวเว่ย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ในตำแหน่งวิศวกรแผนกวิจัยและพัฒนา จากการสั่งสมประสบการณ์ในอุตสาหกรรมไอซีที ผนวกกับความสามารถในการบริหารธุรกิจของหัวเว่ยในตลาดหลายประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้เขาได้รับการยอมรับในฐานะผู้บริหารมากประสบการณ์ซึ่งโดดเด่นด้านการบริหารจัดการทีมงานในประเทศต่าง ๆ ทั้งในฐานะประธานกรรมการบริหารของตลาดประเทศกัมพูชาและอินเดีย ทั้งนี้ เขายังมีความเชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจของหัวเว่ยในตลาดหลายประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่อย่างเป็นทางการของบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เขาจะนำความเชี่ยวชาญ ความเป็นผู้นำ และประสบการณ์การทำงานหลายสิบปี มาสานต่อพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย” เพื่อนำประเทศไทยสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเติบโตด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน